ตะไกร ๑ หมายถึง [-ไกฺร] น. เครื่องมือสําหรับตัดโดยใช้หนีบ มี ๒ ขา, ลักษณนามว่า เล่ม,เขียนเป็น กรรไกร หรือ กรรไตร ก็มี.
[-ไกฺร] น. คําเรียกเหยี่ยวชนิดหนึ่งว่า เหยี่ยวตะไกร. (พจน. ๒๔๙๓).
น. (๑) ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Flacourtia วงศ์ Flacourtiaceae เช่นตะขบไทย (F. rukam Zoll. et Moritzi) ต้นมีหนาม ผลกลม สุกสีม่วงแดงหรือแดงเข้ม รสหวาน รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Muntingia calaburaL. ในวงศ์ Tiliaceae ต้นไม่มีหนาม ผลกลม เล็กกว่าตะขบไทย สุกสีม่วงแดงรสหวาน, ตะขบฝรั่ง ก็เรียก.
ดู ตะขบ (๒).
ดู ตาขอ ที่ ตา ๒.
น. ชื่อสัตว์ที่มีลําตัวและขาเป็นปล้อง มีหลายวงศ์ หัวและลําตัวยาวแบนหรือค่อนข้างแบน มีจํานวนปล้อง ๑๕-๒๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ไปจนถึงปล้องสุดท้ายหรือเกือบสุด ท้ายขามี ๕-๗ ปล้อง ทอดออกไป ด้านข้างของลําตัวทั้ง ๒ ข้าง มีเขี้ยวซึ่งเป็นขาคู่แรกบางชนิดมีนํ้าพิษ ทําให้ผู้ถูกกัดเจ็บปวด เช่น ตะขาบไฟ (Scolopendra morsitans) ในวงศ์Scolopendridae, กระแอบ หรือ จะขาบ ก็เรียก.
น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน อยู่ตามลําพัง ทํารังในโพรง ไม้' ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coraciasbenghalensis) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง(Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้มหรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอดปากสีแดง.
น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชักให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตีกันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.